วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2556

ฝนหลวงในอนาคต


การทำฝนหลวงในปัจจุบันโดยใช้วิธีการโปรยสารเคมีจากเครื่องบินเพื่อเร่งหรือเสริมการก่อตัวและการเจริญเติบโตของเมฆ  และโจมตีกลุ่มเมฆฝนให้เกิดฝนตกลงสู่พื้นที่เป้าหมายที่ต้องการนั้น บางครั้งก็ประสบปัญหาที่ไม่สามารถปฏิบัติตามขั้นตอนกรรมวิธีให้ครบถ้วนสมบูรณ์ เช่น ในขึ้นโจมดีให้ฝนตกลงสู่พื้นที่เป้ามหายไม่กระทำได้เนื่องจากฝนตกปกคลุมสนามบินเกิดลมพายุปั่นป่วนและรุนแรง เครื่องบินไม่สามารถขั้นปฏิบัติการได้ทำให้กลุ่มเมฆเคลื่อนที่พ้นพื้นที่เป้าหมาย จากปัญหาต่างๆ เหล่านี้จึงได้มีการค้นคว้าวิจัยทดลองกรรมวิธีทำฝนขึ้น  เพื่อพัฒนาให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกรุณาพระราชทานแนวทางคิดในการวิจัยพัฒนาฝนหลวงเพื่อเกษตรกรหลายประการ คือ
ประการแรก สร้างจรวดฝนเทียมบรรจุสรรเคมีจากพื้นดินเข้าสู่เมฆหรือยิงจากเครื่องบินซึ่งได้มีการทดลองแล้วมีความก้าวหน้าขึ้นมาเป็นลำดับขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นทำการผลิตจรวดเชิงอุตสาหกรรมและคาดว่าอีกไม่นานเกินรอ  ไทยเราก็คงได้เป็นผู้นำของการทำฝนหลวงในภูมิภาคนี้อีกครั้งหนึ่ง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาพระราชทานแนวความคิดในการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาในการใช้เครื่องบินทำฝนหลวง ด้วยการให้ทำการวิจัยสร้างจรวดบรรจุสารเคมียิงจากพื้นดินเข้าสู่ก้อนเมฆ หรือยิงจากเครื่องบิน จึงได้มีการเริ่มวิจัยประดิษฐ์จรวดทำฝนร่วมกับกรมสรรพาวุธทหารบก เมื่อ พ.ศ. 2515-2516 จนก้าวหน้าถึงระดับทดลองประดิษฐ์จรวด  เพื่อทำการยิงในเบื้องตนแล้ว แต่ต้องหยุดชะงักด้วยความจำเป็นบางประการของกรมสรรพาวุธ ทหารบกจนถึง พ.ศ. 2524 คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติได้แต่งตั้งคณะทำงานพัฒนาและวิจัยจรวดฝนเทียมขึ้นประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านจรวดของกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ นักวิชาการจากสภาวิจัยแห่งชาติและนักวิชาการฝนหลวง ซึ่งได้ร่วมทำการวิจัยค้นคว้าและพัฒนาจรวดต้นแบบขั้นเพื่อทำการทดลองยิงและถึงขึ้นบรรจุสารเคมีเพื่อทดลองยิงเข้าสู่ก้อนเมฆจริงแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 ในขณะนี้จึงอยู่ระหว่างขั้นทำการผลิตจรวดเชิงอุตสาหกรรมในลำดับต่อมา
ประการที่สอง คือ การใช้เครื่องพ่นสารเคมีอัดแรงกำลังสู่จากยอดเขาสู่ฐานของก้อนเมฆโดยตรงเพื่อช่วยให้เมฆที่ตามปกติมักลอยปกคลุมอยู่เหนือยอดเขาสามารถรวมตัวหนาแน่นจนเกิดฝนตกลงสู่บริเวณภูเขาหรือพื้นที่ใต้ลมของภูเขา หากผลการทดลองลุล่วงเรียบร้อยเมื่อใดก็คงได้นำไปใช้กันอย่างทั่วถึง
ประการสุดท้าย คือ  การทำฝนในเมฆเย็นจัด (Super Cooled Cloud) โดยใช้สารที่ทำให้เกิดฝนในกลุ่มเมฆเย็นจัด (ที่อยู่สูงเกินกว่า 18,000 ฟุต) ให้สารนี้เป็นตัวเกิดหรือเร่งเร้ากระตุ้นกลไกของการเกิดผลึกน้ำแข็งในก้อนหรือกลุ่มเมฆนั้น การวิจัยนี้อยู่ภายใต้โครงการวิจัยทรัพยากรบรรยากาศประยุกต์ซึ่งเป็นโครงการร่วมมือของรัฐบาลไทยและอเมริกาตั้งแต่ปี 2531 เป็นต้นมา
ฝนหลวง จึงนับว่าเป็นที่พึ่งของเกา๖รกรยามเกิดภัยแล้งได้อย่างแท้จริง และได้ก้าวเข้ามามีส่วนช่วยเหลือประเทศชาตินานาประการจนมิอาจกล่าวได้หมดสิ้น
วันนี้...สภาพความแห้งแล้งอันเป็นภัยพิบัติจากธรรมชาติ...ได้กลับพลิกฟื้นคืนสู่สภาพที่สดใสขึ้นอีกครั้งหนึ่งบนผืนแผ่นดินไทยโดยพระราชดำริ  ฝนหลวง อันเกิดจากน้ำพระราชหฤทัยที่เปี่ยมด้วยพระเมตาและพระกรุณาธิคุณแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว....ผู้ทรงสอดส่องดูแลทุกข์สุขและห่วงใยทุกชีวิตโดยแท้...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น