วันอังคารที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2556

ที่มาและความสำคัญ





ในปัจจุบันประชาชนในถิ่นทุรกันดารต้องประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค และเกษตรกรรม อันเนื่องมาจากภาวะแห้งแล้ง ซึ่งมีสาเหตุมาจากความผันแปร และความคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงได้มีการแก้ไขปัญหาโดยมีการจัดโครงการพระราชดำริฝนหลวง เป็นโครงการที่ก่อกำเนิดจากพระมหากรุณาธิคุณที่ห่วงใยในความทุกข์ยากของพสกนิกรในท้องถิ่นทุรกันดาร

แนวพระราชดำริ


ในปี พ.ศ. 2498 ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินโดยพระราชพาหนะเครื่องบินพระที่นั่ง เพื่อทรงเยี่ยมเยียนทุกข์สุของพสกนิกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือย่านบริเวณเทือกเขาภูพาน ทรงพบเห็นว่าภาวะแห้งแล้งได้ทวีความถี่และมีแนวโน้มว่าจะรุนแรงยิ่งขึ้นเป็นลำดับนั้น น่าจะมีสาเหตุเกิดขึ้นจากการผันแปรและคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติ อีกทั้งการตัดไม้ทำลายป่าอาจจะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งทำให้สภาพอากาศจากพื้นดินถึงระดับฐานเมฆไม่เอื้ออำนวยต่อการกลั่นตัวของไอน้ำที่จะก่อตัวเกิดเป็นเมฆ และทำให้ยากต่อการเหนี่ยวนำให้ฝนตกลงสู่พื้นดิน จึงมีฝนตกน้อยกว่าเป็นปกติหรือไม่ตกเลย ทรสังเกตว่ามีเมฆปริมาณมากปกคลุมเหนือพื้นที่ระหว่างเส้นทางบินแต่ไม่สามารถก่อรวมตัวจนเกิดเป็นฝนตกได้ เป็นเหตุให้เกิดสภาวะฝนทิ้งช่วงเป็นระยะเวลายาวนานทั้งๆ ที่เป็นช่วงฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นฤดูฝน
เกิดสภาพความแห้งแล้งทั่วพื้นที่ทั้งๆ ท้องฟ้ามีเมฆมาก คือ จุดประกายข้อสังเกต ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในขณะที่พระองค์ท่านได้เสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมประชาชนและทอดพระเนตรเห็นแต่ความแห้งแล้งเกิดขึ้นทั่วไป ทั้งๆ ที่ท้องฟ้ามีเมฆปกคลุมอยู่ นอกจากนี้ได้ทรงพบเห็นท้องถิ่นหลายแห่งประสบปัญหาพื้นดินแห้งแล้ง หรือการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และทำการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูเพาะปลูก เกษตรกรมักจะประสบความเดือดร้อนทุกข์ยากมาก เนื่องจากบางครั้งเกิดภาวะฝนทิ้งช่วงในระยะวิกฤติของพืชผลกล่าวคือหากขาดน้ำในระยะดังกล่าวนี้จะทำให้ผลผลิตต่ำหรืออาจไม่มีผลผลิตให้เลยรวมทั้งอาจทำให้ผลผลิตที่มีอยู่เสียหายได้ การเช่นนี้เมื่อเกิดภาวะฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วงในคราใดของแต่ละปี จึงสร้างความเดือดร้อนอย่างสาหัสและก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจแก่เกษตรกรอย่างใหญ่หลวงนอกจากนี้ภาวะความต้องการใช้น้ำของประเทศนับวันจะทวีปริมาณความต้องการสูงขึ้นอย่างมหาศาลเพราะการขยายตัวเจริญเติบโตทางด้านอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และการเพิ่มขึ้นของประชากร ซึ่งส่งผลให้ปริมาณน้ำต้นทุนจากทรัพยากรน้ำที่มีอยู่ไม่เพียงพอ ตัวอย่างนี้เห็นได้ชัดคือ ปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพลลดลงอย่างน่าตกใจ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานสัมภาษณ์เกี่ยวกับฝนหลวงแก่ข้าราชการสำนักงาน กปร. ประกอบด้วย นายสุเมธ ตันติเวชกุล  นายมนูญ มุกข์ประดิษฐ์  และนายพิมลศักดิ์ สุวรรณทัต เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2529  ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
...เรื่องฝนเทียมนี้เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2498 แต่ยังไม่ได้ทำอะไรมากมาย เพราะว่าไปภาคอีสานตอนนั้นหน้าแล้งเดือนพฤศจิกายน  ที่ไปมีเมฆมาก อีสานก็แล้ง ก็เลยมีความคิด 2 อย่าง ต้องทำ Check dam ตอนนั้นเกิดความคิดจากนครพนม ผ่านสกลนครข้ามไปกาฬสินธุ์ ลงไปสหัสขันธ์ที่เดี๋ยวนี้เป็นอำเภอ  สมเด็จ...ไปจอดที่นั่นไปเยี่ยมราษฎรมันแล้ง  มีฝุ่น...
....แต่มาเงยดูท้องฟ้า มีเมฆ ทำไมมีเมฆอย่างนี้ทำไมจะดึงเมฆนี่ให้ลงมาได้ ก็เคยได้ยินเรื่องทำฝนก็มาปรารภกับคุณเทพฤทธิ์ ฝนทำได้มีหนังสือ เคยอ่านหนังสือทำได้...นับเป็นต้นกำเนิดแห่งพระราชดำริ ฝนหลวง ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงค้นพบด้วยพระองค์เอง...อย่างแท้จริง
ด้วยพระเนตรที่ยาวไกล และทรงความอัจฉริยะของพระองค์ท่านที่ประกอบด้วยคุณลักษณะของนักวิทยาศาสตร์ จึงทรงสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลในขั้นต้นแล้ว จึงได้มีพระราชดำริครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2498 แก่ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ว่าจะทรงค้นหาวิธีการที่จะทำให้เกิด ฝนตกนอกเหนือจากที่จะได้รับจากธรรมชาติ โดยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์กับทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดมีศักยภาพของการเป็นฝนให้ได้
ทรงเชื่อมั่นในพระราชหฤทัยว่าด้วยลักษณะภูมิอากาศและภูมิประเทศของบ้านเราจะสามารถดำเนินการให้บังเกิดผลสำเร็จได้อย่างแน่นอน  เนื่องจาก น้ำ เป็นที่ได้รับการกล่าวขวัญถึงตลอดเวลาในสังคมไทยที่กำลังได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงอันเนื่องมาจากขาดแคลนน้ำอยู่ในขณะนั้น  เป็นเพราะน้ำคือปัจจัยขั้นพื้นฐานที่สำคัญในการดำรงชีพของมนุษย์และพืชพรรณธัญญาหารตลอดจนสิงสาราสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง  การขาดแคลนน้ำจึงมิได้มีผลโดยตรงแค่เพียงความเป็นอยู่ของประชาชนเท่านั้นแต่ยังได้ก้าวล่วงไปถึงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศโดยส่วนรวมอีกด้วย และถึงขนาดที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสว่า น้ำ คือ ชีวิต
แม้ว่าประเทศไทยเราได้พยายามอย่างสุดกำลังที่จะทำการแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยการพัฒนาทรัพยากรแหล่งน้ำของชาติทุกประเภทที่มีอยู่ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่าแหล่งทรัพยากรน้ำของประเทศที่มีอยู่ในปัจจุบัน ยังอยู่ห่างจากระดับความเพียงพอของความต้องการใช้น้ำของประชากรในประเทศเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังมีพื้นที่เกษตรกรรมที่ต้องพึ่งพาน้ำฝนเป็นหลักใหญ่อยู่อีกถึง 82.6% ดังนั้น จึงทรงคาดการณ์ว่า  ก่อนที่จะถึงสภาพที่สุดวิสัยหรือยากเกินกว่าจะแก้ไขได้นั้นควรจะมีมาตรการหนึ่งที่จะป้องกันและแก้ไขปัยหาดังกล่าวได้ จึงพระราชทานพระราชดำริในปี พ.ศ. 2499 แก่  ม.ล.เดช  สนิทวงศ์  ว่า น่าจะมีลู่ทางที่จะคิดค้นหาเทคนิคหรือวิธีการทางวิทยาศาสตร์ด้านการดัดแปรสภาพอากาศมาช่วยให้เกิดการก่อและรวมตัวของเมฆให้เกิด ฝน  ได้   การรับสนองพระราชดำริได้ดำเนินการอย่างจริงจังจากความร่วมมือกันระหว่าง ม.ล.เดช สนิทวงศ์   ม.จ.จักรพันธ์เพ็ญศิริ  จักรพันธุ์  และ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์  เทวกุล ในอันที่จะศึกษาและนำวิธีการทำฝนอย่างในต่างประเทศมาประยุกต์ใช้กับสภาพอากาศของเมืองไทย ฝนหลวง หรือ ฝนเทียม  จึงมีกำเนิดจึ้นจากการสนองพระราชดำริ โดยประยุกต์ใช้จากผลการวิจัยค้นคว้าทางวิชาการด้านทำฝนเทียมของประเทศต่างๆ เช่น สหรัฐอเมริกา  ออสเตรเลีย และอิสราเอล ภายใต้การพระราชทานข้อแนะนำจากองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างใกล้ชิดพร้อมกันนี้ได้มีการจัดตั้งส่วนราชการ สำนักงานปฏิบัติการฝนหลวง ขึ้น รับผิดชอบการดำเนินการฝนหลวงในระยะเวลาต่อมาจนถึงปัจจุบัน ในระยะแรกของการดำเนินการตามพระราชดำรินี้ ข้อมูล หรือหลักฐานที่นำมาทดลองพิสูจน์ยืนยันผลนั้นยังมีน้อยมาก และขาดความน่าเชื่อถือทางวิชาการ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยเรายังไม่มีนักวิชาการด้านการัดแปรสภาพอากาศ หรือนักวิชาการทำฝนอยู่เลย ดังนั้น ในช่วงเริ่มต้นของการทดลองปฏิบัติการฝนหลวง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้ทรงติดตามผล วางแผนการทดลองปฏิบัติการ โดยทรงสังเกตจากรายงานแทบทุกครั้งอย่างใกล้ชิด
วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2512   นับเป็นประวัติศาสตร์แห่งการทำฝนหลวงของประเทศไทยเพราะเป็นวันปฐมฤกษ์ในการปฏิบัติการทดลองทำฝนเทียมกับเมฆในท้องฟ้าเหนือภาคพื้นดิน บริเวณวนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โดยการใช้น้ำแข็งแห้ง (dry-ice) โดยที่ยอดของกลุ่มก้อนเมฆ ปรากฎว่าหลังการปฏิบัติการประมาณ 15 นาที ก้อนเมฆในบริเวณนั้นเกิดมีการรวมตัวกันอย่างหนาแน่นจนเห็นได้ชัด  สังเกตได้จากสีของฐานเมฆได้เปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีเทาเข้ม ซึ่ผลการทดลองเป็นที่น่าพอใจ  เพีงแต่ยังไม่อาจควบคุมให้ฝนตกในบริเวณที่ต้องการได้  ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานคำแนะนำเพิ่มเติมตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น การเปลี่ยนที่ทดลองไปยังจุดแห้งแล้งอื่นๆ เช่น ที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เป็นต้น  จะเห็นได้ว่าการปฏิบัติงานฝนหลวงเมื่อตอนเริ่มต้นต้องพบกับความยากลำบากและอุปสรรคมากมายนานาประการ สิ่งสำคัญคือจะต้องมีสภาพดินฟ้าอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการทำฝนทดลองกล่าวคือ จะต้องดูลักษณะเมฆที่มีศักยภาพที่จะเกิดฝนได้ ซึ่งเมฆในลักษณะในลักษณะเช่นนี้มองเผินๆ จะคล้ายขนแกะในท้องฟ้า ถ้าไม่มีก็จำเป็นต้องสร้างให้เกิดเมฆขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งความชื้นจะต้องอยู่ในระดับ 70% การปฏิบัติงานจึงจะได้ผล แต่ถ้าความชื้นต่ำลงเท่าใดก็จะยิ่งได้ผลน้อยลงจนไม่คุ้มค่า ฉะนั้น การสร้างเมฆก็คือการสร้างความชื้นขึ้นในอากาศนั่นเอง โดยใช้เคมีภัณฑ์ หลายชนิดซึ่งได้ทดสอบแล้วว่าได้ผลดีและปลอดภัยต่อชีวิตมนุษย์มาใช้ในการทำฝนหลวง
จากพระมหากรุณาธิคุณแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อมีปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับการทดลอง จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานคำแนะนำและมีพระราชดำริเพิ่มเติมในการปรับปรุงหลายประการจนสามารถปฏิบัติการฝนหลวงได้ดี และทรงให้การสนับสนุนในด้านต่างๆ โดยเฉพาะทรงติดตามการปฏิบัติงานทดลองอย่างใกล้ชิดทุกระยะ และทรงแนะนำฝึกฝนนักวิชาการให้สามารถวางแผนปฏิบัติการอย่างเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศของแต่ละท้องถิ่น บางครั้งพระองค์ก็ทรงทดลองและควบคุมบัญชาการทำฝนหลวงด้วยพระองค์เอง
ก่อนจะทำฝนหลวงแต่ละครั้ง จะทรงเตือนให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบสภาพอากาศล่วงหน้า เพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายแก่พืชผลและทรัพย์สินของราษฎร ทรงเร่งให้ปฏิบัติการ เมื่อสภาพอากาศอำนวยเพื่อจะได้ปริมาณน้ำฝนมากยิ่งขึ้นกับทรงแนะนำให้ระมัดระวังสารเคมีที่ใช้ปฏิบัติการต้องไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ด้วย  จนในที่สุดการศึกษาวิจัยเป็นการส่วนพระองค์ในเรื่องเกี่ยวกับกระแสและทิศทางลมในแต่ละพื้นที่แต่ละเวลามีการทดสอบปรับปรุงหลายประการจนนำไปใช้การได้ดี จนสามารถพระราชทานข้อแนะนำให้ดึงหรือสร้างเมฆได้ ทั้งยังสามารถบังคับเปลี่ยนทิศทางของเมฆให้เกิดฝนตกในบริเวณรับน้ำที่ต้องการ เช่น อ่างเก็บน้ำ  ห้วย หนอง คลองบึง หรือบริเวณใกล้เคียงที่กำหนดไว้จึงนับว่า ฝนหลวงเป็นความสำเร็จที่เกิดจากพระรอัจฉริยภาพ และความสนพระราชหฤทัยอย่างจริงจังของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยแท้
การพัฒนาค้นคว้าที่เกี่ยวกับฝนหลวงได้พัฒนาก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ ทั้งนี้ เพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงทำการทดลองวิจัยด้วยพระองค์เอง รวมทั้งได้พระราชทานทรัพย์สินส่วนพระองค์เป็นค่าใช้จ่าย เพื่อทำการทดลองปฏิบัติการฝนหลวงด้วยพระเมตตาธรรม ระยะเวลาที่ทรงมานะบากบั่น อดทนด้วยพระวิริยะอุตสาหะนับถึงวันนี้เป็นเวลาเกือบ 30 ปี  ในที่สุดด้วยพระปรีชาสามารถและพระอัจฉริยภาพที่ทรงสั่งสมจากการทดลอง สามารถทำให้กำหนดบังคับฝนให้ตกลงสู่พื้นที่เป้าหมายได้สำเร็จกลายเป็นหลักแนวทางให้นักวิชาการฝนหลวงรุ่นปัจจุบัน ได้ทำการศึกษาวิจัยอย่างมีระเบียบและเป็นระบบวิทยาศาสตร์ที่แท้จริง

โครงการฝนหลวงคืออะไร


      โครงการฝนหลวง คือ โครงการที่เกิดขึ้นจากพระราชดำริส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีจุดประสงค์เพื่อสร้างฝนเทียมสำหรับบรรเทาความแห้งแล้งให้แก่เกษตรกร

วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

ฝนหลวง


          การทำฝนหลวงเป็นกรรมวิธีการเหนี่ยวนำน้ำจากฟ้า จะต้องให้เครื่องบินที่มีอัตราการบรรทุกมากๆ บรรจุสารเคมีขึ้นไปโปรยในท้องฟ้า โดยดูจากความชื้นของจำนวนเมฆ และสภาพของทิศทางลมประกอบกัน ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดฝนคือ ความร้อนชื้นปะทะความเย็น และมีแกนกลั่นตัวที่มีประสิทธิภาพในปริมาณที่เหมาะสม กล่าวคือ เมื่อมวลอากาศร้อนชื้นที่ระดับผิวพื้นขึ้นสู่อากาศเบื้องบน อุณหภูมิของมวลอากาศ จะลดต่ำลงจนถึงความสูงที่ระดับหนึ่ง หากอุณหภูมิที่ลดต่ำลงนั้นมากพอก็จะทำให้ไอน้ำในมวลอากาศอิ่มตัว จะเกิดขบวนการกลั่นตัวเองของไอน้ำในมวลอากาศขึ้นบนแกนกลั่นตัว เกิดเป็นฝนตกลงมา ฉะนั้นสารเคมีที่ใช้จึงประกอบด้วย สูตรร้อน เพื่อใช้กระตุ้นเร่งเร้ากลไกการหมุนเวียนของบรรยากาศ สูตรเย็น ใช้เพื่อกระตุ้นกลไกการรวมตัวของละอองเมฆ ให้โตขึ้นเป็นเม็ดฝน และสูตรที่ใช้เป็นแกนดูดซับความชื้น เพื่อใช้กระตุ้นกลไก ระบบการกลั่นตัวให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556

ความเป็นมาของโครงการพระราชดำริฝนหลวง

"...แต่มาเงยดูท้องฟ้า มีเมฆ ทำไมมีเมฆอย่างนี้ ทำไมจะดึงเมฆนี่ลงมาให้ได้ ก็เคยได้ยินเรื่องการทำฝน ก็มาปรารภกับคุณเทพฤทธิ์ ฝนทำได้มี มีหนังสือ เคยอ่านหนังสือทำได้..."


                โครงการพระราชดำริฝนหลวง เป็นโครงการที่ก่อกำเนิดจากพระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงห่วงใยในความทุกข์ยากของพสกนิกรในท้องถิ่นทุรกันดาร ที่ต้องประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ เพื่ออุปโภคบริโภค และเกษตรกรรม อันเนื่องมาจากภาวะแห้งแล้งซึ่งมีสาเหตุมาจาก ความผันแปร และคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติ กล่าวคือ ฤดูฝนเริ่มต้นล่าเกินไป หรือหมดเร็วกว่าปกติหรือฝนทิ้งช่วงยาวในช่วงฤดูฝน จากพระราชกรณียกิจ ในการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกร ในทุกภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอนับแต่เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ จนตราบเท่าทุกวันนี้ ทรงพบเห็นว่าภาวะแห้งแล้ง ได้ทวีความถี่ และมีแนวโน้มว่าจะรุนแรงยิ่งขึ้นตามลำดับ เพราะนอกจากความผันแปร และคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติแล้ว การตัดไม้ทำลายป่า ยังเป็นสาเหตุให้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้แก่ราษฎร ในทุกภาคของประเทศ ทำความเสียหายแก่เศรษฐกิจโดยรวมของชาติเป็นมูลค่ามหาศาลในแต่ละปี ตามเส้นทางที่เคยเสด็จพระราชดำเนิน ทั้ง ภาคพื้นดิน ทางอากาศยานดังกล่าว ทรงสังเกตเห็นว่ามีเมฆปริมาณมากปกคลุมท้องฟ้า แต่ไม่สามารถก่อรวมตัวกัน จนเกิดเป็นฝนได้ เป็นเหตุให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงระยะยาวทั้ง ๆ ที่เป็นช่วงฤดูฝน ทรงคิดคำนึงว่า น่าจะมีมาตรการทางวิทยาศาสตร์ ที่จะช่วยให้เมฆเหล่านั้นก่อรวมตัวกันจนเกิดเป็นฝนได้ ทรงเชื่อมั่นว่า ด้วยลักษณะของกาลอากาศ ภูมิอากาศ และภูมิประเทศของประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคเขตร้อน และอยู่ในอิทธิพลของฤดูมรสุมของทวีปเอเชีย โดยเฉพาะฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งเป็นฤดูฝน และเป็นฤดูเพาะปลูกประจำปีของประเทศไทย จะสามารถดัดแปรสภาพอากาศ ให้เกิดเป็นฝนตกได้ อย่างแน่นอน ตามที่ทรงเล่าไว้ใน RAINMAKING STORY จาก พ.ศ. 2498 เป็นต้นมา ทรงศึกษาค้นคว้า และวิจัยทางเอกสาร ทั้งด้านวิชาการอุตุนิยมวิทยา และมีการดัดแปรสภาพอากาศ ซึ่งทรงรอบรู้ และเชี่ยวชาญ เป็นที่ยอมรับทั้งใน และต่างประเทศ จนทรงมั่นพระทัย จึงพระราชทานแนวคิดนี้แก่ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ผู้เชี่ยวชาญในการวิจัยประดิษฐ์ทางด้านเกษตรวิศวกรรม ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขณะนั้น ในปีถัดมา และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้หาลู่ทางที่จะทำให้เกิดการทดลองปฏิบัติการในท้องฟ้าให้เป็นไปได้ จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2512 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดตั้งหน่วยบิน ปราบศัตรูพืชกรมการข้าว และพร้อมที่จะให้การสนับสนุน ในการสนองพระราชประสงค์ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล จึงได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาทรงทราบว่า พร้อมที่จะดำเนินการ ตามพระราชประสงค์แล้ว ดังนั้นในปีเดียวกันนั้นเอง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำการทดลองปฏิบัติการจริงในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 1-2 กรกฎาคม 2512 โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แต่งตั้งให้ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล เป็นผู้อำนวยการโครงการ และหัวหน้าคณะปฏิบัติการทดลอง เป็นคนแรก และเลือกพื้นที่วนอุทยานเขาใหญ่เป็นพื้นที่ทดลองเป็นแห่งแรก โดยทดลองหยอดก้อนน้ำแข็งแห้ง (dry ice หรือ solid carbondioxide) ขนาดไม่เกิน 1 ลูกบาศก์นิ้ว เข้าไปในยอดเมฆสูงไม่เกิน 10,000 ฟุต ที่ลอยกระจัดกระจายอยู่เหนือพื้นที่ทดลองในขณะนั้น ทำให้กลุ่มเมฆ ทดลองเหล่านั้น มีการเปลี่ยนแปลงทางฟิสิกส์ของเมฆอย่างเห็นได้ชัดเจน เกิดการกลั่นรวมตัวกันหนาแน่น และก่อยอดสูงขึ้นเป็นเมฆฝนขนาดใหญ่ ในเวลาอันรวดเร็วแล้วเคลื่อนตัวตามทิศทางลม พ้นไปจากสายตา ไม่สามารถสังเกตได้ เนื่องจากยอดเขาบัง แต่จากการติดตามผลโดยการสำรวจทางภาคพื้นดิน และได้รับรายงานยืนยันด้วยวาจาจากราษฎรว่า เกิดฝนตกลงสู่พื้นที่ทดลอง วนอุทยานเขาใหญ่ในที่สุด นับเป็นนิมิตหมายบ่งชี้ให้เห็นว่า การบังคับเมฆให้เกิดฝนเป็นสิ่งที่เป็นไปได้

วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556

ตำราฝนหลวง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประดิษฐ์ภาพ "ตำราฝนหลวง" ด้วยคอมพิวเตอร์ แสดงขั้นตอน และกรรมวิธีการดัดแปรสภาพอากาศ ให้เกิดฝนจากเมฆอุ่น และเมฆเย็น และพระราชทานแก่ นักวิชาการฝนหลวง ถือปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2542


แถวบนสุด (แถวแรก) ของตำราฝนหลวงพระราชทาน
  • ช่องที่ 1. "นางมณีเมฆขลา" เป็นเครื่องหมายหรือสัญญลักษณ์ของโครงการ เป็นหัวหน้าสำนักงานอุตุนิยมวิทยา แห่งเขาไกรลาศ หรือเขาพระสุเมรุ วิเทศะสันนิษฐานว่าอยู่ในทะเล
  • ช่องที่ 2. "พระอินทร์ทรงเกวียน" พระอินทร์เป็นพระสักกะเทวราช เป็นราชาของเทวดา ที่ทรงมาช่วยทำฝน
  • ช่องที่ 3. "21 มกราคม 2542" เป็นวันที่ทรงประทับบนเครื่องบินพระที่นั่ง เสด็จไปประกอบพระราชกรณียกิจที่จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างเส้นทางพระราชดำเนินกลับ ทรงสังเกตเห็นกลุ่มเมฆปกคลุมพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างที่น่าจะทำฝนได้ทรงบันทึกภาพเมฆเหล่านั้นพระราชทานลงมา และมีพระราชกระแสรับสั่งให้ส่งคณะปฏิบัติการฝนหลวงพิเศษออกไปปฏิบัติการกู้ภัยแล้งในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา และภาคเหนือตอนล่าง โดยเร่งด่วน
  • ช่องที่ 4. "เครื่องบิน 3 เครื่อง" เป็นตัวอย่างของเครื่องบินที่เหมาะสมกับการปฏิบัติการตามตำราฝนหลวงพระราชทานตามขั้นตอนที่ 1 - 6 ประกอบด้วย
    • เครื่องบินเมฆเย็น (BEECHCRAFT KING AIR)
    • เครื่องบินเมฆอุ่น (CASA)
    • เครื่องบินเมฆอุ่น (CARAVAN)    

แถวที่ 1 ช่องที่ 1-4 เป็นขั้นตอนที่ 1
เป็นการเร่งให้เกิดเมฆโดยใช้เครื่องบินเมฆอุ่น 1 เครื่อง โปรย สารเคมีผงเกลือ โซเดียมคลอไรด์ (NaCl) ที่ระดับความสูง 7,000 ฟุต ในขณะที่ท้องฟ้าโปร่งหรือมีเมฆเดิมก่อตัว อยู่บ้าง ความชื้นสัมพัทธ์ไม่น้อยกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ ให้เป็นแกนกลั่นตัว (Cloud Condensation Nuclei เรียกย่อว่า CCN) ความชื้นหรือไอน้ำจะถูกดูดซับเข้าไปเกาะรอบแกนเกลือแล้วรวมตัวกันเกิดเป็นเมฆ ซึ่งเมฆเหล่านี้จะพัฒนาเจริญขึ้นเป็นเมฆก้อนใหญ่ อาจก่อยอดถึงระดับ 10,000 ฟุต ได้


แถวที่ 2 ช่องที่ 1-4 เป็นขั้นตอนที่ 2
เป็นการเร่งการเจริญเติบโตของเมฆที่ก่อขึ้นหรือเมฆเดิมที่มีอยู่ตามธรรมชาติ และก่อยอดขึ้นถึงระดับ 10,000 ฟุต ฐานเมฆสูงไม่เกิน 7,000 ฟุต ใช้เครื่องบินแบบเมฆอุ่นอีกหนึ่งเครื่อง โปรยสารเคมีผงแคลเซี่ยมคลอไรด์ (CaCl2) เข้าไปในกลุ่มเมฆที่ระดับ 8,000 ฟุต (หรือสูงกว่าฐานเมฆ 1,000 ฟุต) ทำให้เกิดความร้อนอันเนื่องมาจากการคายความร้อนแฝง จากการกลั่นตัวรอบ CCN รวมกับความร้อน ที่เกิดจากปฏิกิริยาของไอน้ำกับสารเคมี CaCl2 โดยตรง และพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ตามธรรมชาติ จะเร่งหรือเสริมแรงยกตัวของมวลอากาศภายในเมฆยกตัวขึ้นและเร่งกิจกรรมการกลั่นตัวของไอน้ำและการรวมตัวกัน ของเม็ดน้ำภายในเมฆ ทวีความหนาแน่นจนขนาดของเมฆใหญ่ก่อยอดขึ้นถึงระดับ 15,000 ฟุต ได้เร็วกว่าที่จะปล่อยให้เจริญขึ้นเองตามธรรมชาติซึ่งยังเป็นส่วนของเมฆอุ่น จนถึงระดับนี้ การยกตัวขึ้นลงของมวลอากาศ การกลั่น และการรวมตัวของเม็ดน้ำยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่องแบบปฏิกิริยาลูกโซ่แต่บางครั้งอาจมีแรงยกตัวเหลือพอที่ยอดเมฆพัฒนาขึ้นถึงระดับ 20,000 ฟุต ซึ่งเป็นระดับเมฆเย็น ซึ่งเริ่มตั้งแต่ระดับประมาณ 18,000 ฟุตขึ้นไป (อุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส)


แถวที่ 3 ช่องที่ 1-4 เป็นขั้นตอนที่ 3
เป็นการเร่งหรือบังคับให้เกิดฝนเมื่อเมฆอุ่นเจริญเติบโตขึ้นจนเริ่ม แก่ตัวจัด ฐานเมฆลดระดับต่ำลงประมาณ 1,000 ฟุต และเคลื่อนตัวใกล้เข้าสู่พื้นที่เป้าหมาย ทำการบังคับให้ฝนตกโดยใช้เทคนิคการโจมตี แบบ Sandwich โดยใช้เครื่องบินเมฆอุ่น 2 เครื่อง เครื่องหนึ่งโปรยผงโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) ทับยอดเมฆหรือไหล่เมฆที่ระดับ 9,000 ฟุต หรือไม่เกิน 10,000 ฟุต ทางด้านเหนือลม อีกเครื่องหนึ่ง โปรยผงยูเรีย (Urea) ที่ระดับฐานเมฆด้านใต้ลม ให้แนวโปรยทั้งสองทำมุมเยื้องกัน 45 องศา (ดังในแผนภาพ) เมฆจะทวีความหนาแน่นของเม็ดน้ำขนาดใหญ่และปริมาณมากขึ้น ตกลงสู่ฐานเมฆทำให้ฐานเมฆหนาแน่นจนฝน ใกล้ตกเป็นฝนหรือเริ่มตกเป็นฝนแต่ยังไม่ถึงพื้นดิน หรือตกถึงพื้นดินแต่ปริมาณยังเบาบาง


แถวที่ 4 ช่องที่ 1-3 เป็นขั้นตอนที่ 4
เป็นการเสริมการโจมตีเพื่อเพิ่มปริมาณฝนให้สูงขึ้นเมื่อกลุ่มเมฆฝนตามขั้นตอนที่ 3 ยังไม่เคลื่อนตัวเข้าสู่เป้าหมายทำการเสริมการโจมตีเมฆอุ่นด้วยสารเคมีสูตรเย็นจัด คือ น้ำแข็งแห้ง (Dry ice) ซึ่งมีอุณหภูมิต่ำระดับ -78 องศาเซลเซียส ที่ใต้ฐานเมฆ 1,000 ฟุต จะทำให้อุณหภูมิของมวลอากาศ ใต้ฐานเมฆลดต่ำลง และความชื้นสัมพัทธ์สูงขึ้น และจะยิ่งทำให้ฐานเมฆยิ่งลดระดับต่ำลง ปริมาณฝนตกหนาแน่น ยิ่งขึ้น และชักนำให้กลุ่มฝนเคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่เป้าหมายหวังผลได้แน่นอนและเร็วยิ่งขึ้น (หากกลุ่มเมฆฝนปกคลุม ภูเขาก็จะเป็นวิธีชักนำให้กลุ่มฝนพ้นจากบริเวณภูเขาเข้าสู่พื้นที่ราบ)


แถวที่ 5 ช่องที่ 1-3 เป็นขั้นตอนที่ 5
เป็นการโจมตีเมฆเย็นด้วย Agl ขณะที่เมฆพัฒนายอดสูงขึ้นในขั้นที่ 2 ถึงระดับเมฆเย็น และมีแค่เครื่องบินเมฆเย็นเพียงเครื่องเดียว ทำการโจมตีเมฆเย็น โดยการยิงพลุสารเคมีซิลเวอร์ ไอโอไดด์ (AgI) ที่ระดับความสูงประมาณ 21,500 ฟุต ซึ่งมีอุณหภูมิระดับ -8 ถึง -12 องศาเซลเซียส มีกระแส มวลอากาศลอยขึ้นกว่า 1,000 ฟุตต่อนาที และมีปริมาณน้ำเย็นจัดไม่ต่ำกว่า 1 กรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นเงื่อนไขเหมาะสมที่จะทำให้ไอน้ำระเหยจากเม็ดน้ำเย็นยิ่งยวด (Super cooled vapour) มาเกาะตัวรอบแกน Agl กลายเป็น ผลึกน้ำแข็งได้ด้วยประสิทธิภาพที่ดีที่สุด ไอน้ำที่แปรสภาพเป็นผลึกน้ำแข็งจะทวีขนาดใหญ่ขึ้นจนร่วงหล่นลงมา และละลายเป็นเม็ดน้ำเมื่อเข้าสู่ระดับเมฆอุ่น และจะทำให้ไอน้ำและเม็ดน้ำในเมฆอุ่นเข้ามาเกาะรวมตัวกันเป็นเม็ดใหญ่ขึ้น ทะลุฐานเมฆเป็นฝนตกลงสู่พื้นดิน


แถวที่ 6 ช่องที่ 1-3 เป็นขั้นตอนที่ 6
เป็นการโจมตีแบบ SUPER SANDWICH จะทำได้ต่อเมื่อมีเครื่องบินปฏิบัติการทั้งเมฆอุ่นและเมฆเย็นสามารถใช้ปฏิบัติการได้ครบ ขณะที่ทำการโจมตีเมฆอุ่นตามขั้นตอนที่ 3 และ 4 ทำการโจมตีเมฆเย็นตามขั้นตอนที่ 5 ควบคู่ไปในขณะเดียวกัน เครื่องบินเมฆอุ่นอีกเครื่องหนึ่งโปรยสารเคมีผงโซเดียมคลอไรด์ที่ระดับไหล่เมฆจะทำให้ฝนตกหนักและต่อเนื่องนานให้ปริมาณน้ำฝนสูงยิ่งขึ้น เนื่องจากเป็นการประสานประสิทธิภาพของการโจมตีเมฆอุ่นในขั้นตอนที่ 3 และ 4 และโจมตีเมฆเย็นในขั้นตอนที่ 5 ควบคู่กันไปในระดับเดียวกัน
เทคนิคการโจมตีนี้โปรดเกล้าฯ ให้เรียกว่า SUPER SANDWICH เป็นเทคนิคที่ทรงคิดค้นขึ้นมาปฏิบัติการในประเทศไทยเป็นประเทศแรก ยังไม่มีประเทศใดในโลกเคยถือปฏิบัติมาก่อนอย่างแน่นอน 


แถวล่างสุด (แถวสุดท้ายของตำราฝนหลวงพระราชทาน)
  • ช่องที่ 1. "แห่นางแมว" (CAT PROCESSION) เป็นการรวมผลหรือประชาสัมพันธ์ (บำรุงขวัญ) แมวเกลียดน้ำ (The cat hates water) เป็นพิธีกรรมขอฝนที่สืบทอดกันมาแต่โบราณกาล เป็นพิธีกรรมด้านจิตวิทยา เมื่อฝนแล้งเกิดความเดือดร้อน ปั่นป่วน วุ่นวาย จึงต้องมีจิตวิทยา บำรุงขวัญให้ประชาชน และเจ้าหน้ามีกำลังใจ
  • ช่องที่ 2. "เครื่องบินทำฝน" เครื่องบินปฏิบัติการ (เป็นพาหะในการประยุกต์เทคโนโลยีฝนหลวง) เครื่องบินต้องกล้าบินเข้าเมฆฝน เพื่อสำรวจและติดตามผล นักบินและนักวิชาการฝนหลวงต้องร่วมมือกัน (The pilot and the rainmakers must cooperate)
  • ช่องที่ 3. "กบ" เลือกนาย หรือขอฝน และเลือกฝน กบร้องแทนอุตุนิยม ถ้าไม่มีความชื้นกบเดือดร้อนและกบเตือนให้มีความพยายาม มิฉะนั้นกบตาย ไม่มีฝนเกษตรกรตาย ท่านต้องจูบกบหลายตัว ก่อนที่จะพบเจ้าชายเพียงหนึ่งองค์ (You have kiss to a lot of frogs before you meet a prince) หมายความว่า ต้องมีความพยายามทำซ้ำหลายๆ ครั้ง เพื่อให้เกิดฝนได้สักครั้ง
  • ช่องที่ 4. "บ้องไฟ" แทนเครื่องบิน (ทำหน้าที่เสมือนเครื่องบินที่เป็นพาหะนำเทคโนโลยีฝนหลวงขึ้นไปประยุกต์ในท้องฟ้า เป็นประเพณีเรียกฝน ไม่ใช่ของเล่น แต่เป็นของจริง ทำฝนด้วยการยิงบ้องไฟ บ้องไฟขึ้นสูงปล่อยควันเป็นแกน ความชื้นเข้ามาเกาะแกนควัน ทำให้เกิดเมฆเกิดฝน บ้องไฟจึงเป็นพิธีการอย่างหนึ่ง เป็นวิทยาศาสตร์






วิธีการทำฝนหลวง



1. เทคโนโลยีฝนหลวง เทคโนโลยีฝนหลวงเป็นเทคนิค หรือ วิชาการที่เกี่ยวกับการดัดแปลงสภาพอากาศ โดยเน้นการทำฝน เพื่อเพิ่มปริมาณฝนตก (Rain enhancement) และ/หรือ เพื่อให้ฝนตกกระจายอย่างสม่ำเสมอ (Rain redistribution) สำหรับป้องกันหรือบรรเทาภาวะแห้งแล้งที่เกิดจากฝนแล้ง หรือฝนทิ้งช่วงนั้น เป็นวิชาการที่ใหม่สำหรับประเทศไทยและของโลก ข้อมูลหลักฐาน (evidence) ที่ใช้พิสูจน์ยืนยัน เพื่อให้เกิดการยอมรับในระดับนักวิชาการและผู้บริหารระดับสูง ถึงผลปฏิบัติการฝนหลวงทั้งทางด้านกาย - ภาพ (Physic) และด้านสถิติ (Statistic) มีน้อยมาก ดังนั้น ในระยะแรกเริ่มของการทดลองและวิจัย กรรมวิธีการปฏิบัติการฝนหลวง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงติดตามผลการวางแผนการทดลองปฏิบัติการ การสังเกตจากรายงานแทบทุกครั้งโดยใกล้ชิด ทรงหาความรู้และประสบการณ์จากนักวิชาการที่ทรงคุณวุฒิทางด้านอุตุนิ- ยมวิทยา โดยได้รับสั่งให้เชิ
ญ พล.ร.ท.สนิท เวสารัชนันท์ ร.น. อดีตอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา พล.ร.ต.พิณ พันธุทวี ร.น. พร้อมด้วยนักวิชาการอื่นๆ มาเป็นคณะทำงานถวาย -ความคิดเห็น วิเคราะห์ผลปฏิบัติการที่ทางคณะปฏิบัติการฝนหลวง ได้ทดลองสังเกตผลการเปลี่ยนแปลงแล้ว ทำรายงานเสนอเป็นประจำ

2. กรรมวิธีการทำฝนหลวง
กรรมวิธีการทำฝนหลวงในประเทศไทยที่ใช้เป็นหลักในปัจจุบัน สรุปได้ ดังนี้



ขั้นตอนที่หนึ่ง : ก่อเมฆ
เป็นการดัดแปรสภาพอากาศเพื่อเร่งหรือเสริมการเกิดเมฆ โดยการโปรยสารเคมีผลละเอียดของเกลือโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) ที่ระดับความสูง 7,000 ฟุต ในท้องฟ้าโปร่งใสที่มีความชื้นสัมพัทธ์ไม่น้อยกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ ผงของเกลือโซเดียมคลอไรด์ ซึ่งมีคุณสมบัติในการดูดความชื้นได้ดี จะทำหน้าที่เสริมประสิทธิภาพของแกนกลั่นตัวในบรรยากาศ (Cloud Condensation Nuclei) เรียกย่อว่า CCN ทำให้กระบวนการดูดซับความชื้นในอากาศให้กลายเป็นเม็ดน้ำเกิดเร็วขึ้นกว่าธรรมชาติ และเกิดกลุ่มเมฆจำนวนมาก ซึ่งเมฆเหล่านี้จะพัฒนาเป็นเมฆก้อนใหญ่ในเวลาต่อมา

ขั้นตอนที่สอง : เลี้ยงให้อ้วน
เป็นการดัดแปรสภาพอากาศ เพื่อเร่งหรือเสริมการเพิ่มขนาดของเมฆและขนาดของเม็ดน้ำในก้อนเมฆ จะปฏิบัติการเมื่อเมฆที่ก่อตัวจากขั้นตอนที่ 1 หรือเมฆเดิมที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ก่อยอดสูงถึงระดับ 10,000 ฟุต โดยการโปรยสารเคมีผลแคลเซียมคลอไรด์ (CaCl2) เข้าไปในกลุ่มเมฆที่ระดับ 8,000 ฟุต ผงแคลเซี่ยมคลอไรด์ซึ่งมีคุณสม บัติดูดความชื้นได้ดี จะดูดซับความชื้นและเม็ดน้ำขนาดเล็กในก้อนเมฆให้กลายเป็นเม็ดน้ำขนาดใหญ่ ในขณะเดียวกันจะเกิดปฏิกิริยาคายความร้อน ซึ่งเป็นคุณสมบัติเฉพาะของสารแคลเซี่ยมคลอไรด์เมื่อละลายน้ำ ความร้อนที่เกิดขึ้นจะเพิ่มอัตราเร็วของกระแสอากาศไหลขึ้น (Updraft) ในก้อนเมฆ ทั้งขนาดเม็ดน้ำที่โตขึ้นและความเร็วของกระแสอากาศไหลขึ้นที่เพิ่มขึ้น จะเป็นปัจจัยเร่งกระบวนการชนกันและรวมตัวกัน (Collision and coalescence process) ของเม็ดน้ำ ทำให้เม็ดน้ำขนาดใหญ่จำนวนมากเกิดขึ้นในก้อนเมฆและยอดเมฆพัฒนาตัวสูงขึ้น ในขั้นนี้ เมฆจะมีขนาดใหญ่ขึ้นและก่อยอดสูงขึ้นไปได้มากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับการทรงตัวของบรรยากาศในแต่ละวัน ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ ในบางวันเมฆจะไม่สามารถก่อยอดสูงเกินระดับอุณหภูมิจุดเยือกแข็ง ( 0 องศาเซลเซียส) หรือประมาณ 18,000 ฟุต เรียกว่า เมฆอุ่น (Warm Cloud) ในบางวันเมฆจะสามารถก่อยอดขึ้นไปสูงกว่าระดับอุณหภูมิจุดเยือกแข็ง เช่น ถึงระดับ 20,000 ฟุต เรียกว่า เมฆเย็น (Cold Cloud) ซึ่งภายในยอดเมฆจะประกอบด้วยเม็ดน้ำเย็นจัด (Super cooled droplet) ที่มีอุณหภูมิต่ำถึง - 8 องศาเซลเซียส

ขั้นตอนที่สาม : โจมตี
เป็นการดัดแปรสภาพอากาศ เพื่อเร่งให้เมฆเกิดเป็นฝน ซึ่งสามารถกระทำได้ 3 วิธี ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของเมฆ และชนิดของเครื่องบินที่มีอยู่ ดังนี้ วิธีที่ 1 \"โจมตีเมฆอุ่น แบบแซนด์วิช\"
ถ้าเป็นเมฆอุ่น เมื่อเมฆแก่ตัว ยอดเมฆจะอยู่ที่ระดับ 10,000 ฟุต หรือสูงกว่าเล็กน้อย และเคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่เป้าหมาย จะทำการโจมตีโดยวิธี Sandwich คือ ใช้เครื่อง บิน 2 เครื่อง เครื่องหนึ่งโปรยผงโซเดียมคลอไรด์ (Nacl) ทับยอดเมฆ หรือไหล่เมฆที่ระดับ 9,000 ฟุต หรือ ไม่เกิน 10,000 ฟุต อีกเครื่องหนึ่งโปรยผงยูเรีย (Urea) ที่ฐานเมฆ ทำมุมเยื้องกัน 45 องศา เมฆจะเริ่มตกเป็นฝนลงสู่พื้นดิน

วิธีที่ 2 \"โจมตีเมฆเย็น แบบธรรมดา\"
ถ้าเป็นเมฆเย็นและมีเครื่องบินเมฆเย็นเพียงเครื่องเดียว เมื่อเมฆเย็นพัฒนายอดสูงขึ้นเลยระดับ 20,000 ฟุต ไปแล้ว จะทำการโจมตีโดยการยิงพลุสารเคมี ซิลเวอร์ไอโอไดด์ (Agl) เข้าสู่ยอดเมฆ ที่ระดับความสูงประมาณ 21,500 ฟุต ซึ่งมีอุณหภูมิระหว่าง -8 ถึง 12 องศาเซลเซียส มีกระแสอากาศไหลขึ้นสูงกว่า 1,000 ฟุตต่อนาที และมีปริมาณน้ำเย็นจัดไม่ตำกว่า 1 กรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นเงื่อนไขเหมาะสม อนุภาคของสาร Agl จะทำหน้าที่เป็นแกนเยือกแข็ง (Ice Nuclei) และเมื่อสัมผัสกับเม็ดน้ำเย็นจัดในบอดเมฆ จะทำให้เม็ดน้ำเหล่านั้นกลายเป็นน้ำแข็งและคายความร้อนแฝงออกมา ซึ่งความร้อนดังกล่าวจะเป็นพลังงานผลักดันให้ยอดเมฆเจริญสูงขึ้นไปอีก และมีการชักนำอากาศชื้นเข้าสู่ฐานเมฆเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันเม็ดน้ำที่กลายเป็นน้ำแข็ง จะมีความดันไอที่ผิวต่ำกว่าเม็ดน้ำเย็นจัด ทำให้ไอน้ำระเหยจากเม็ดน้ำไปเกาะที่เม็ดน้ำแข็ง และเม็ดน้ำแข็งจะเจริญเติบโตได้เร็วเป็นก้อนน้ำแข็งที่มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น และจะล่วงหล่นลงสู่เบื้องล่าง ซึ่งจะละลายเป็นเม็ดน้ำฝน เมื่อผ่านชั้นอุณหภูมิเยือกแข็งลงมาที่ฐานเมฆ และเกิดเป็นฝนตกลงสู่พื้นดิน

วิธีที่ 3 \"โจมตีเมฆเย็น แบบซูเปอร์แซนด์วิช\"
หากเป็นเมฆเย็น และมีเครื่องบินครบทั้งชนิดเมฆอุ่นและเมฆเย็น เมื่อเมฆเย็นพัฒนายอดสูงขึ้นเลยระดับ 20,000 ฟุต ไปแล้ว จะทำการโจมตีโดยการผสมผสานวิธีที่ 1 และ 2 ในเวลาเดียวกัน กล่าวคือ เครื่องบินเมฆเย็นจะยิงพลุสารเคมี ซิลเวอร์ไอโอไดด์ (Agl) เข้าสู่ยอดเมฆ ที่ระดับความสูงประมาณ 21,500 ฟุต ส่วนเครื่องบินเมฆอุ่น 1 เครื่อง จะโปรยสารเคมีโซเดียมคลอไรด์ที่ระดับไหล่เมฆ (ประมาณ 9,000 - 10,000 ฟุต) และเครื่องบินเมฆอุ่นอีก 1 เครื่อง จะโปรยสารเคมีผงยูเรียที่ระดับชิดฐานเมฆ ทำมุมเยื้องกัน 45 องศา วิธีการนี้จะทำให้ประสิทธิภาพในการเพิ่มปริมาณน้ำฝนสูงยิ่งขึ้น และเทคนี้โปรดเกล้าฯ ให้เรียกชื่อว่า SUPER SANDWICH

ขั้นตอนที่สี่ : เพิ่มฝน
การโจมตีเมฆในขั้นตอนที่ 3 ทั้งสามวิธี อาจจะทำให้ฝนใกล้จะตกหรือเริ่มตกแล้ว ขั้นตอนที่ 4 นี้ จะเร่งการตกของฝนและเพิ่มปริมาณน้ำโดยการโปรยเกล็ดน้ำแข้งแห้ง (Dry ice) ที่ระดับใต้ฐานเมฆประมาณ 1,000 ฟุต เกล็ดน้ำแข็งแห้งซึ่งมีอุณหภูมิต่ำถึง -78 องศาเซลเซียส จะปรับอุณหภูมิของบรรยากาศระหว่างฐานเมฆกับพื้นดินให้เย็นลง ทำให้ฐานเมฆยิ่งลดระดับต่ำลง ฝนจะตกในทันที หรือที่ตกอยู่แล้ว จะมีอัตราการตกของฝนสูงขึ้น ลดอัตราการระเหยของเม็ดฝนขณะล่วงหล่นลงสู่พื้นดิน และทำให้ฝนตกต่อเนื่องเป็นเวลานานขึ้นและหนาแน่นยิ่งขึ้น

3. กรรมวิธีการทำฝนหลวง
การออกปฏิบัติการแต่ละครั้ง จะดำเนินการเมื่อได้รับการร้องเรียนจากกลุ่มเกษตรกร, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร, ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือประสานงานโดยตรงกับคณะปฏิบัติการฝนหลวง
• ภาคเหนือ สนามบิน จ.แพร่, สนามบิน จ.เชียงใหม่
• ภาคอีสาน สนามบินกองบิน 1 จ.นครราชสีมา, สนามบิน จ.ขอนแก่น
• ภาคกลาง สนามบินกองบิน 2 จ.ลพบุรี, สนามบินกองบิน 4 จ.นครสวรรค์
• ภาคใต้ตอนบน สนามบินบ่อฝ้าย อ.หัวหิน, สนามบินค่ายธนรัตน์ อ.ปราณบุรี หรือสนามบินกองบิน 53 จ.ประจวบคีรีขันธ์ 
โดยพิจารณาหลักเกณฑ์ ดังนี้ 
- จำนวนพื้นที่พืชผลทางเกษตรกรรม จะต้องไม่น้อยกว่า 200,000 ไร่
 - ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบถึงพืชผลทางเกษตรกรรมในพื้นที่ใกล้เคียง และไม่ต้องการน้ำ






วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2556

ฝนหลวงกับการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน


หลังจากที่ทรงประสบผลสำเร็จและมีการยอมรับจากทั้งภายในและต่างประเทศแล้วนั้นปริมาณความต้องการฝนหลวงเพื่อช่วยพื้นที่เกษตรกรรม และการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภคได้รับการร้องเรียนขอความช่วยเหลือเพิ่มมากขึ้น เห็นได้ชัดในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2520-2534 มีการร้องเรียนขอฝนหลวงเฉลี่ยถึงปีละ 44 จังหวัด ซึ่งทรงพระเมตตาอนุเคราะห์ช่วยเหลือเกษตรกรไทยในการรรเทาการสูญเสียทางเศรษฐกิจให้ประสบความเสียหายน้อยที่สุด นอกจากนี้ประโยชน์สำคัญที่ควบคู่ไปกับการปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อเกษตรกรรม และการอุปโภคบริโภค ก็คือ เป็นการช่วยเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้แก่อ่างและเขื่อนกักเก็บน้ำเพื่อการชลประทาน และผลิตกระแสไฟฟ้า แหล่งน้ำและต้นน้ำลำธารธรรมชาติ อีกทั้งยังเป็นการช่วยทำนุบำรุงป่าไม้ โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งความชุ่มชื้นที่ได้รับเพิ่มขึ้นจากฝนหลวงจะช่วยลดการเกิดไฟป่าได้เป็นอย่างมาก  ฝนหลวงได้เข้ามามีส่วนช่วยแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในการบรรเทามลภาวะที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองของเราหลายประการ อาทิเช่น ช่วยแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียในแม่น้ำลำคลอง โรคระบาด อหิวาตกโรค การระบาดของศัตรูพืชบางชนิด เช่น เพลี้ย ตั๊กแตกปาทังก้า เหล่านี้เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่ได้รับความสำเร็จอย่างดีเยี่ยมตลอดมา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงได้รับความร่วมมือจากเหล่าพสกนิกรทั่วประเทศที่เห็นคุณค่าของฝนหลวง ดังจะเห็นได้จากการที่ประชาชนในหลายจังหวัดได้ร่วมกันทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลในการจัดซื้อเครื่องบินสำหรับทำฝนหลวงเป็นจำนวนมาก  เช่น เครื่องบินแอร์ทรัคซึ่งราษฎรจังหวัดกาญจนบุรีได้ร่วมกันจัดซื้อเมื่อ พ.ศ. 2515 นับเป็นเครื่องแรกที่ได้นำขึ้นน้อมเกล้าฯ ถวายเพื่อใช้ในกิจกรรมค้นคว้าทดลองปฏิบัติการ ต่อมาราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี ได้ร่วมกันจัดซื้อเครื่องบินแอร์ทัวเรอร์น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเพื่อใช้ในการบินอำนวยการทดลองปฏิบัติการฝนหลวงอีกเครื่องหนึ่งด้วย นอกจากนี้ยังมีราษฎรจัดงหวัดขอนแก่น ชลบุรีและกาญจนบุรี ได้ร่วมกันจัดซื้อเครื่องบินปอร์ตเตอร์น้อมเกล้าฯ ถวายใช้ในงานฝนหลวง ความสำคัญในพระองค์ท่านนั้นเห็นได้ชัดเจนซึ่งจากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราโชวาสให้ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี นำชาวสวนจังหวัดจันทบรีเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาททูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเงินซึ่งได้ร่วมกันบริจาคโดยเส็จพระราชกุศลในการจัดซื้อเครื่องบินสำหรับโครงการการทำฝนเทียม และน้อมเกล้าฯ ถวายผลไม้ที่รอดพ้นจากความเสียหายอันเนื่องมาจากภัยแล้ง ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตลดา เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 ในวโรกาสนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำรัสแก่ชาวสวนจังหวัดจันทบุรีความว่า
...ท่านทั้งหลายก็เป็นประจักษ์พยานว่า การทำฝนเทียมได้ชุบชีวิตต้นไม้ซึ่งมิฉะนั้นก็เสียหายไปฉะนั้นจึงเกิดความยินดีมากที่ท่านทั้งหลายได้มาพบกันในวันนี้ ได้นำเงินมาสมทบในกิจการฝนเทียม และได้นำพาผลิตผลซึ่งเป็นประจักษ์พยานมาให้ ความดีใจนี้มีหลายประการอย่างหนึ่งก็ได้เห็นว่าท่านทั้งหลายได้มีความสุขสบาย อีกอย่างหนึ่งก็ที่เห็นว่ากิจการมีผลดีและท่านทั้งหลายทราบดี ก็ขอขอบใจท่านทั้งหลายที่ร่วมมือทั้งฝ่ายเจ้าหน้าที่ที่ได้ร่วมมือในกิจการ และกำลังช่วยให้ประชาชนมีความสุข  ความเรียบร้อยทุกประการ ตามหน้าที่อันนี้นำความปลาบปลื้มแก่ข้าพเจ้าอย่างมาก ฉะนั้นก็ขอขอบใจท่านทั้งหลายทุกฝ่ายที่ได้ร่วมมืออย่างมีสามัคคีกระชับแน่นแฟ้นที่สุด เป็นทางที่ทำให้ท้องที่มีความเจริญมั่นคง และเมื่อท้องที่มีความเจริญมั่นคงแล้วประเทศย่อมอยู่ได้มีทางที่จะก้าวหน้าเพราะทุกคนร่วมมือกัน ทุกคนช่วยซึ่งกันและกัน ทุกคนมีความเห็นอย่างไรก็แจ้งออกมา ผู้ที่ได้รับฟังก็ย่อมรับฟังด้วยเหตุผลที่ดี อันเป็นวิธีการที่จะอยู่ในชีวิตของประเทศชาติ อันนี้เป็นความปลื้มที่ใหญ่ที่สุดที่เห็นความสามัคคี ความขยันหมั่นเพียร ความซื่อสัตย์สุจริตประจักษ์ออกมา ก็ขอขอบใจทุกท่านทุกฝ่ายที่ได้แสดงว่าเมืองไทยเรา วิธีปฏิบัติ...จะไม่เรียกว่าวิธีการปกครอง...วิธีปฏิบัติทั้งในด้านชีวิต ทั้งในด้านอาชีพ ตั้งแต่การเป็นอยู่ส่วนตัว จนกระทั่งถึงการจัดระเบียบการทุกขั้นอย่างมีเหตุผล มีจิตใจเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน เป็นความหวังสำหรับอนาคตของบ้านเมืองที่จะทำให้เมืองไทยคงอยู่ด้วยความผาสุกด้วยความมั่นคงไปตลอดกาล...

บทบาทฝนหลวงวันนี้


เริ่มจากแก้ไข ภัยแล้ง ก้าวไปสู่การบรรเทา สาธารณภัย และเพิ่มพูน เศรษฐกิจ
ฝนหลวง ต้องเข้ามารับภาระหน้าที่ในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่อาณาประชาราษฎร์มากเกินกว่าที่คาดคิดกันไว้นัก เพราะ ฝนหลวง กลับกลายจากจุดมุ่งหวังที่ในครั้งแรกเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยแล้งนั้น ได้รับการร้องขอให้ขยายการบรรเทาความเดือดร้อนที่สืบเนื่องมาจากการพัฒนาอุตสาหกรรมและภาวะสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษอีกด้วย กล่าวคือ ฝนหลวง มีส่วนช่วยเหลือการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยหลายประการดังนี้
  • ด้านการเกษตร มีการร้องขอฝนหลสงเพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำในช่วงที่เกิดภาวะฝนแล้ง หรือฝนทิ้งช่วงยาวนานซึ่งมีผลกระทบต่อแหล่งผผลิตทางการเกษตรที่กำลังให้ผลผลิต เช่น แถบจังหวัดจันทบุรี  หรือเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ เป็นจำนวนมากหลายราย ซึ่งได้พระราชทานความช่วยเหลือเสมอมา ทำฝนหลวงเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำให้กับริเวณพื้นที่ลุ่มรับน้ำของแม่น้ำสายต่างๆ ที่มีปริมาณน้ำต้นทุนลดน้อยลง เช่น แม่น้ำปิง วัง ยม น่าน เป็นต้น โดยเฉพาะในปีที่เกิดวิกฤติขาดแคลนน้ำที่เขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ สามารถจัดเก็บน้ำจากฝนหลวงนับตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2536 ถึง 28 ตุลาคม พ.ศ. 2536 อันเป็นวันสุดท้ายของการปฏิบัติงานฝนหลวงในปีนั้นได้ถึง 4,204.18 ล้านลูกบาศก์เมตร ในขณะที่ก่อนทำฝนหลวงมีน้ำเหลือเพียง 3,497.79 ล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้น
  • เพื่อการอุปโภค บริโภค ภาวะความต้องการน้ำทั้งจากน้ำฝนและอ่างเก็บน้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง เป็นความต้องการที่สามัญของผู้คนอย่างยิ่ง การขาดแคลนน้ำกิน น้ำใช้ มีความรุนแรงมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากคุณสมบัติของดินในภูมิภาคนี้เป็นดินร่วนปนทรายไม่สามารถอุ้มซับน้ำได้ จึงไม่สามารถเก็บกักน้ำได้ดีเท่าที่ควร
  • ช่วยในการแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำ ภายใต้พื้นดินของภาคอีสานมีแหล่งหินเกลือเป็นจำนวนมากและครอบคลุมพื้นที่กว้างขวาง ดังนั้น อ่างเก็บน้ำขนาดเล็กและขนาดกลางที่ไม่มีทางระบายออก หากมีปริมาณน้ำเหลือน้อย น้ำจะกร่อยหรือเค็มได้ เพราะหินเกลือที่อยู่ด้านล่างเกิดมีการละลายแล้วลอยตัวเคลื่อนที่ขึ้นามาบนผิวดิน
  • เสริมสร้างเส้นทางคมนาคมทางน้ำ เมื่อการขาดปริมาณน้ำเกิดขึ้นดุจภาวะลูกโซ่เช่นนี้ ก็ส่งผลมาถึงระดับน้ำในแม่น้ำลดต่ำลงบางแห่งตื้นเขินจนไม่สามารถสัญจรไปมาทางเรือได้ เช่น ทางน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาบางตนในปัจจุบันการทำฝนหลวงเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำให้กับบริเวณดังกล่าวจึงนับเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง เพราะการขนส่งสินค้าทางน้ำเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าทางอื่น และการจราจรทางบกนับวันจะมีปัญหารุนแรงมากขึ้นทุกขณะ
  • ป้องกันและบำบัดภาวะมลพิษของสิ่งแวดล้อม หากน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาลดน้อยลงเมื่อใด น้ำเค็มจากทะเลอ่าวไทยก็จะไหลหนุนเนื่องเข้าไปแทนที่ทำให้เกิดน้ำกร่อยขึ้น และเกิดความเสียหายแก่เกษตรกรเป็นจำนวนมาก จึงจำเป็นที่ต้องมีการปล่อยน้ำจากเขื่อนภูมิพล เพื่อผลักดันน้ำเค็มมิให้หนุนเข้ามาทำความเสียหายต่อการอุปโภค บริโภคหรือเกษตรกรรม รวมทั้งสิ่งที่เราอาจไม่คาดคิดมาก่อนว่า ฝนหลวง ได้บรรเทาภาวะสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษอันเกิดจากการระบายน้ำเสียทิ้งลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาและขยะมูลฝอยที่ผู้คนทิ้งลงในสายน้ำกันอย่างมากมายนั้น ปริมาณน้ำจากฝนหลวงจะช่วยผลักดันออกสู่ท้องทะเล ทำให้ภาวะมลพิษจากน้ำเสียเจือจางลง ซึ่งสังเกตเห็นได้ชัดเจนจากขยะมูลฝอยและกระแสน้ำเสียต่างสีในบริเวณปากน้ำจนถึงเกาะล้านเมืองพัทยา
  • เพิ่มปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์เพื่อผลิตแระแสไฟฟ้า บ้านเมืองของเราประสบปัญหาการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าขึ้นทุกขณะ เนื่องจากมีความต้องการใช้ไฟฟ้าในปริมาณสูงมากจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เมื่อเกิดภาวะวิกฤติระดับน้ำเหนือเขื่อนมีระดับต่ำมากจนไม่เพียงพอต่อการใช้พลังงานน้ำ ไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าส่งให้ผู้ใช้ได้อย่างทั่วถึงจนถึงขนาดเกรงกันว่าอาจจำเป็นต้องใช้มาตรการต่างๆ ในการประหยัดพลังงานไฟฟ้ากันบ้างเพื่อแก้ไขปัญหาสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
การทำฝนหลวงเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำเหนือเขื่อนภูมิพล ซึ่งเกิดวิกฤตขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรงที่สุดเป็นประวัติการณ์ จึงเป็นภารกิจสำคัญยิ่งที่เริ่มดำเนินการเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2536 ถึงวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ 2536 ฝนหลวงได้มีส่วนในการเพิ่มปริมาณน้ำให้เพียงพอต่อการใช้พลังน้ำเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้ามิให้การพัฒนาด้านต่างๆ เกิดการสะดุดหยุดชะงักและสามารถดำเนินการไปได้อย่างราบรื่นมั่นคง ในปีนี้สามารถเพิ่มปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพลได้ถึง 5,274.63 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยที่ปริมาณน้ำก่อนปฏิบัติการฝนหลวงเหลือเพียง 4,037.30 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งนับว่าทำให้กำลังผลิตสำรองกระแสไฟฟ้าที่ใช้ได้ในปีนี้อยู่ในเกณฑ์ที่เพียงพอ

ฝนหลวงในอนาคต


การทำฝนหลวงในปัจจุบันโดยใช้วิธีการโปรยสารเคมีจากเครื่องบินเพื่อเร่งหรือเสริมการก่อตัวและการเจริญเติบโตของเมฆ  และโจมตีกลุ่มเมฆฝนให้เกิดฝนตกลงสู่พื้นที่เป้าหมายที่ต้องการนั้น บางครั้งก็ประสบปัญหาที่ไม่สามารถปฏิบัติตามขั้นตอนกรรมวิธีให้ครบถ้วนสมบูรณ์ เช่น ในขึ้นโจมดีให้ฝนตกลงสู่พื้นที่เป้ามหายไม่กระทำได้เนื่องจากฝนตกปกคลุมสนามบินเกิดลมพายุปั่นป่วนและรุนแรง เครื่องบินไม่สามารถขั้นปฏิบัติการได้ทำให้กลุ่มเมฆเคลื่อนที่พ้นพื้นที่เป้าหมาย จากปัญหาต่างๆ เหล่านี้จึงได้มีการค้นคว้าวิจัยทดลองกรรมวิธีทำฝนขึ้น  เพื่อพัฒนาให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกรุณาพระราชทานแนวทางคิดในการวิจัยพัฒนาฝนหลวงเพื่อเกษตรกรหลายประการ คือ
ประการแรก สร้างจรวดฝนเทียมบรรจุสรรเคมีจากพื้นดินเข้าสู่เมฆหรือยิงจากเครื่องบินซึ่งได้มีการทดลองแล้วมีความก้าวหน้าขึ้นมาเป็นลำดับขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นทำการผลิตจรวดเชิงอุตสาหกรรมและคาดว่าอีกไม่นานเกินรอ  ไทยเราก็คงได้เป็นผู้นำของการทำฝนหลวงในภูมิภาคนี้อีกครั้งหนึ่ง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาพระราชทานแนวความคิดในการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาในการใช้เครื่องบินทำฝนหลวง ด้วยการให้ทำการวิจัยสร้างจรวดบรรจุสารเคมียิงจากพื้นดินเข้าสู่ก้อนเมฆ หรือยิงจากเครื่องบิน จึงได้มีการเริ่มวิจัยประดิษฐ์จรวดทำฝนร่วมกับกรมสรรพาวุธทหารบก เมื่อ พ.ศ. 2515-2516 จนก้าวหน้าถึงระดับทดลองประดิษฐ์จรวด  เพื่อทำการยิงในเบื้องตนแล้ว แต่ต้องหยุดชะงักด้วยความจำเป็นบางประการของกรมสรรพาวุธ ทหารบกจนถึง พ.ศ. 2524 คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติได้แต่งตั้งคณะทำงานพัฒนาและวิจัยจรวดฝนเทียมขึ้นประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านจรวดของกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ นักวิชาการจากสภาวิจัยแห่งชาติและนักวิชาการฝนหลวง ซึ่งได้ร่วมทำการวิจัยค้นคว้าและพัฒนาจรวดต้นแบบขั้นเพื่อทำการทดลองยิงและถึงขึ้นบรรจุสารเคมีเพื่อทดลองยิงเข้าสู่ก้อนเมฆจริงแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 ในขณะนี้จึงอยู่ระหว่างขั้นทำการผลิตจรวดเชิงอุตสาหกรรมในลำดับต่อมา
ประการที่สอง คือ การใช้เครื่องพ่นสารเคมีอัดแรงกำลังสู่จากยอดเขาสู่ฐานของก้อนเมฆโดยตรงเพื่อช่วยให้เมฆที่ตามปกติมักลอยปกคลุมอยู่เหนือยอดเขาสามารถรวมตัวหนาแน่นจนเกิดฝนตกลงสู่บริเวณภูเขาหรือพื้นที่ใต้ลมของภูเขา หากผลการทดลองลุล่วงเรียบร้อยเมื่อใดก็คงได้นำไปใช้กันอย่างทั่วถึง
ประการสุดท้าย คือ  การทำฝนในเมฆเย็นจัด (Super Cooled Cloud) โดยใช้สารที่ทำให้เกิดฝนในกลุ่มเมฆเย็นจัด (ที่อยู่สูงเกินกว่า 18,000 ฟุต) ให้สารนี้เป็นตัวเกิดหรือเร่งเร้ากระตุ้นกลไกของการเกิดผลึกน้ำแข็งในก้อนหรือกลุ่มเมฆนั้น การวิจัยนี้อยู่ภายใต้โครงการวิจัยทรัพยากรบรรยากาศประยุกต์ซึ่งเป็นโครงการร่วมมือของรัฐบาลไทยและอเมริกาตั้งแต่ปี 2531 เป็นต้นมา
ฝนหลวง จึงนับว่าเป็นที่พึ่งของเกา๖รกรยามเกิดภัยแล้งได้อย่างแท้จริง และได้ก้าวเข้ามามีส่วนช่วยเหลือประเทศชาตินานาประการจนมิอาจกล่าวได้หมดสิ้น
วันนี้...สภาพความแห้งแล้งอันเป็นภัยพิบัติจากธรรมชาติ...ได้กลับพลิกฟื้นคืนสู่สภาพที่สดใสขึ้นอีกครั้งหนึ่งบนผืนแผ่นดินไทยโดยพระราชดำริ  ฝนหลวง อันเกิดจากน้ำพระราชหฤทัยที่เปี่ยมด้วยพระเมตาและพระกรุณาธิคุณแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว....ผู้ทรงสอดส่องดูแลทุกข์สุขและห่วงใยทุกชีวิตโดยแท้...

อ้างอิง

พระ พรชัย พรชัย พลวโร ( โนนิล ).  (2551,13 กันยายน).  แนวพระราชดำริโครงการฝนหลวงสืบค้นเมื่อ, 2556, 10 สิงหาคม

วาสิณีย์ ตันติการุณย์.  (2549, 17 กรกฎาคม).  ความเป็นมาฝนหลวงสืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2556,
จาก 
http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/m6/sri09/html/activities-sci2.htm

สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร (2551, 10 พฤศจิกายน).  ตำราฝนหลวงสืบค้นเมื่อ 2 กันยายน 2556,

ยุพิน สิงหพงษ์ฝนหลวงกับการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน.สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2556,


ผู้จัดทำ

ชื่อ :ธิมาพร ตาปนานนท์ ชื่อเล่น :ติ๊ก ชั้น : ม.6/3 
โรงเรียนนนทรีวิทยา
e-mail :mymamegirl@hotmail.com 
น.ส.นวพร ประยูรเจริญกิจ ชื่อเล่น เอมมี่ ม.6/3 
โรงเรียน นนทรีวิทยา
 e-mail Amy-Ammy@hotmail.coom 
กฤษติญา รักธรรม ชื่อเล่น :แนน ชั้น : ม.6/3 
โรงเรียนนนทรีวิทยา
 e-mail : nan_ausgezeichnet@hotmail.com 
ชื่อ ชลิตา มารศรี ชื่อเล่น ตองเเตง ชั้น 6/3 
โรงเรียน นนทรีวิทยา
 tongtang38@hotmail.com
ชื่อ นางสาววิภาพร จันพรม ชื่อเล่น เปิ้ล ชั้น ม.6/3
 โรงเรียนโรงเรียนนนทรีวิทย
 e-mail tiamo_u@hotmail.com